ในเดือนกรกฎาคม 2561 ทุกมุมโลกต่างจับตามองปฏิบัติการที่ “เป็นไปไม่ได้” ในการกู้ภัยเด็กชาย 12 คนและโค้ชของทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงใหม่
การช่วยเหลือในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างน่าเหลือเชื่อ ร่วมเปิดเผยถึง “ภารกิจที่เป็นไปไม่ได้” จากผู้อยู่ในเหตุการณ์ก่อนสายตาคนทั้งโลก ทีมงานของ CMRCA อยู่ในเหตุการณ์และได้ร่วมมีบทบาทสำคัญในการกู้ภัย ซึ่งโดยส่วนมากเป็นการทำงานเบื้องหลัง ในสารคดีล่าสุดของไทยพีบีเอสนั้น ทาง CMRCA ได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมากในรายการ ท่านสามารถติดตามดูทุกตอนของเราได้ที่ลิงค์ Youtube ของเรา
ในขณะที่ทีม CMRCA และ Progression Equipment ทุกคนให้ความช่วยเหลือจากเชียงใหม่ อีกส่วนหนึ่งก็ได้เข้าไปที่บริเวณถ้ำเพื่อให้ความช่วยเหลือภาคพื้นดินในช่วง 17 วัน ทีมงานของ CMRCA มีบทบาทสำคัญในการประสานงานด้านการทำงานของศูนย์บัญชาการกองอำนวยการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน นอกจากนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในถ้ำระหว่างโถงที่ 2 และโถงที่ 3 การดำน้ำกู้ภัยนั้นเสร็จสิ้นลงที่โถงที่3 ซึ่งบริเวณในถ้ำหลังจากนั้นยังมีการกู้ภัยในส่วนของถ้ำในบริเวณที่ไม่ถูกน้ำท่วม เพื่อนำเด็กๆ ออกไปจากถ้ำสู่มือแพทย์อย่างปลอดภัย
ในวันที่ 7 กรกฎาคม CMRCA นำทีมนานาชาติเข้าติดตั้งระบบเชือกขั้นสูง (highline) เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายเด็กๆเหนือพื้นผิวที่ไม่เรียบภายในถ้ำ ทีม CMRCA นั้นเข้าจัดการระบบเชือกตลอดเวลา 3 วันในการช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 8 – 10 กรกฎาคม เพื่อรับประกันความปลอดภัยของเด็กๆ ตลอดการเคลื่อนย้ายในทุกส่วนของถ้ำ นี่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง หน่วยซีล ราชนาวีไทย (Thai Navy Seal), กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ( the US Air Force), ทีม CMRCA, ตำรวจพื้นที่ และทีมกู้ภัยจากประเทศจีน
จอช มอริส ผู้ก่อตั้ง CMRCA ร่วมด้วย นพดล อุปคำ (ต่อ), มาริโอ้ ไวล์ด, สุรเชษฐ์ กองสิงห์ (แอ๊ด), นงลักษณ์ เกิดแก้ว (ไวท์), อาชัญญ์ นวกุล ( โตโต้), อดิเทพ ขำศรี (เทพ), และจรัลเดช ทองนาค ( โจโจ้)
ทีมงานแต่ละคนนั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือ ดังรายละเอียดด้านล่าง
จอช มอริส – ผู้ก่อตั้ง
จอช เริ่มต้นการช่วยเหลือความพยายามในครั้งนี้ด้วยการประสานงานด้านการสื่อสารและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในถ้ำระหว่างเชี่ยวชาญด้านถ้ำจากนานาชาติ อยู่ที่ออฟฟิศ CMRCA ในเชียงใหม่ แต่หลังจากการปรึกษากับทีมในพื้นที่ เขาตัดสินใจมุ่งหน้าไป อำเภอแม่สายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2561 เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
ระหว่างวันที่ 2 และ 5 กรกฎาคม จอชได้ทำการสำรวจบริเวณภูเขาร่วมกับสมาชิกของทีม CMRCA เพื่อมองหาทางเลือกอื่นสำหรับทางเข้าถ้ำและความเป็นไปได้ในการนำทางในถ้ำ เขาได้ให้คำแนะนำแก่ผู้บัญชาการทหารหลายๆ คนรวมทั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการนำทางในถ้ำ ในวันที่ 6 กรกฎาคม จอชนำทีม CMRCA เข้าสู่ศูนย์บัญชาการกองอำนวยการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน และรับบทบาทในการนำทีมประสานงานนาชาติทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการไทย ราชนาวี และกองทัพไทย รวมทั้งทีมกู้ภัยนานาชาติประกอบด้วย ทีมนักสำรวจถ้ำอังกฤษ, กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งนักดำน้ำออสเตรเลีย จีน และ ไทย
จอชมีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจ, อำนวยความสะดวกและเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารวัฒนธรรมที่แตกต่าง ร่วมด้วยความคล่องแคล่วในภาษาไทยและวัฒนธรรมรวมถึงประสบการณ์ในการสำรวจถ้ำ เอื้อให้เขามีทักษะที่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นที่ต้องการ จอชมีบทบาทสำคัญในการช่วยอำนวยความสะดวก ประสานงาน และแปลภาษาระหว่างทีมงานนานาชาติ และทำงานร่วมกับบุคคลในหน่วยงานราชการไทยระดับสูงจำนวนมากและกองทัพ ตั้งแต่วันที่ 6 – 13 กรกฎาคม
ในวันสุดท้าย เขาได้รับเกียรติเข้าร่วมในงานขอบคุณจากผู้ปกครองของเด็กๆ ในส่วนของการแปลภาษาและช่วยเหลือต่างๆร่วมกับนักดำน้ำชาวอังกฤษ จอชยังคงร่วมทำงานและให้คำแนะนำต่อกระทรวงการต่างประเทศและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอีกเป็นระยะเวลาหนึ่งหลังจากจบภารกิจการกู้ภัย
สำหรับการให้ความช่วยเหลือระหว่างการกู้ภัยครั้งนี้ จอชได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ทุติดิเรกคุณาภรณ์ (ชั้น 2) ในพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 โดยท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นพดล อุปคำ (ต่อ) – หัวหน้าครูฝึกสอนการผจญภัยในถ้ำ, ผู้ฝึกสอนการกู้ภัย
ต่อได้แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเททั้งชีวิตในการกู้ภัยระหว่างปฏิบัติการช่วยเหลือ ด้วยประสบการณ์ด้านการปีนหน้าผาและครูฝึกสอนการผจญภัยในถ้ำ ต่อได้มีส่วนร่วมในการสำรวจและผจญภัยในถ้ำจำนวนมาก เพื่อสร้างแผนที่ในถ้ำที่ไม่มีการสำรวจในประเทศไทย เขาได้รับใบรับรองจาก NCRC (National Cave Rescue Commission) และเป็นครูฝึกสอนในสมาคมงานกู้ภัยนานาชาติ
ต่อและทีมงานจากหน่วยกู้ภัยด้วยเชือกเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้เข้าไปถึงด้านในของถ้ำในวันที่ 24 มิถุนายน เขาใช้เวลากับนักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษ เวิร์น อันส์เวิร์ธ ที่บริเวณ 3 แยก และพยายามอย่างสุดความสามารถในการเข้าถึงตัวเด็กๆ
ต่อใช้เวลา 16 วันต่อมาในการสำรวจบริเวณภูเขา เพื่อหาทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นไปได้สำหรับเข้าถ้ำ เขาได้แนะนำและทำงานร่วมกับสมาชิกของหน่วยรบที่ 34 จำนวนมากในการสำรวจทางเข้าถ้ำหลายๆทาง และประสานงานกับทีมอาสากู้ภัยกลุ่มใหญ่
ในวันที่ 7 กรกฎาคม ต่อกลับมาที่ถ้ำหลวงพร้อมกับทีมงาน CMRCA เพื่อช่วยนำความพยายามในการติดตั้งการช่วยเหลือด้วยเชือกขั้นสูง ( high lines) ระหว่างโถง 2 และ โถง 3 เชือกเหล่านี้ใช้ในการเคลื่อนย้ายเด็กๆหลังจากการช่วยเหลือด้านการดำน้ำได้เสร็จสิ้นลง
ต่อประจำอยู่ที่หนึ่งในสถานีในการเคลื่อนย้ายเด็กๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กทุกคนได้รับการเคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัยตลอดทางในถ้ำที่พื้นผิวไม่เรียบ ต่อได้รับการขอบคุณจากพ่อแม่ของเด็กๆ และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่ง ดิเรกคุณาภรณ์ (ชั้น 6) ในพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 รวมถึงคำขอบคุณจากท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเขา
มาริโอ้ ไวล์ด
มาริโอ้ เข้าร่วมความพยายามในการกู้ภัยในวันที่ 1 กรกฎาคม ด้วยประสบการณ์ด้านการปีนหน้าผาและการผจญภัยในถ้ำ รวมถึงการเป็นครูฝึกสอนในสมาคมงานกู้ภัยนานาชาติ เขามีทักษะที่เยี่ยมยอดซึ่งช่วยในการเริ่มต้นการช่วยเหลือ มาริโอ้ใช้เวลาในวันแรกๆ ในการสำรวจความเป็นไปได้ของทางในถ้ำร่วมกับทีมงานของ CMRCA เขา จอช และแอ๊ด ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการสำรวจบริเวณบ้านผาหมีจนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม
ในวันที่ 6 กรกฎาคม มาริโอ้เข้าร่วมกับจอชที่ศูนย์บัญชาการกองอำนวยการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ซึ่งเขาและแอ๊ดได้ร่วมมือกับ เวิร์น อันส์เวิร์ธ และกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และเริ่มสร้างแผนสำหรับใช้การกู้ภัยด้วยเชือกขั้นสูงซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในถ้ำ
ในวันที่ 7 กรกฎาคม มาริโอ้ร่วมมือกับต่อและนำทีม CMRCA กลับเข้าไปในถ้ำเพื่อติดตั้งและเตรียมระบบเชือกที่จะใช้ในการกู้ภัย
ในวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม มาริโอ้มีบทบาทสำคัญในการติดตั้งและจัดการระบบเชือกที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายเด็กจากโถงที่ 3 เข้าสู่ช่องทางก่อนถึงโถงที่ 2 ซึ่งเป็นที่ที่เด็กได้รับการดูแลด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เขาเป็นผู้นำทีมกู้ภัยรวมถึงทีมกู้ภัยจากประเทศจีน และยังได้รับการขอบคุณอย่างซาบซึ้งจากผู้ปกครองของเด็กๆ
มาริโอ้เข้าร่วมพิธีแสดงความขอบคุณที่ พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานครฯ ในเดือนกันยายน
สุรเชษฐ์ กองสิงห์ (แอ๊ด)
แอ๊ด เข้าร่วมการกู้ภัยครั้งนี้กับมาริโอ้ใวันที่ 1 กรกฎาคม เขาเป็นหนึ่งในผู้ฝึกสอนปีนหน้าผาที่เก่งที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำลังอยู่ระหว่างการขอใบรับรองผู้นำฝึกสอนปีนหน้าผาจาก AMGA (American Mountain Guides Association)
ด้วยประสบการณ์ด้านการปีนหน้าผาและผจญภัยในถ้ำ รวมถึงประสบการณ์ด้านการเป็นครูฝึกสอนด้านการปฐมพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร (Wilderness First Aid) ทำให้เขามีทักษะที่จำเป็นในการช่วยเหลือการกู้ภัย
แอ๊ด เข้าร่วมกับมาริโอ้และจอชในความพยายามในการหาทางเข้าถ้ำจากทางอื่น จนกระทั่งทีมได้เคลื่อนย้ายไปยังศูนย์บัญชาการกองอำนวยการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ในวันที่ 6 กรกฎาคม
หลังจากนั้นเขาได้ประยุกต์ใช้ทักษะของเขาในฐานะสมาชิกของ CMRCA สร้างระบบเชือกชั้นสูงและให้ความช่วยเหลือในการดำเนินงานระบบกู้ภัยด้วยเลือกชั้นสูงระหว่างการกู้ภัย นอกจากนี้แอ๊ดยังทำงานร่วมกับทีมงานนานาชาติเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กๆ ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปนอกถ้ำ เพื่อรับการดูแลด้านพยาบาลต่อไปอย่างปลอดภัย
นงลักษณ์ เกิดแก้ว (ไวท์)
ทักษะของไวท์ด้านการเป็นไกด์ท่องเที่ยวและผู้ประสานงานโครงการและกิจกรรมต่างๆ เป็นส่วนสำคัญในการช่วยจัดการทีมงานกู้ภัยจำนวนหลายคน ไวท์เดินทางไปถึงสถานที่กู้ภัยในวันที่ 24 มิถุนายนกับต่อ และอยู่ช่วยเหลือทีมกู้ภัยตลอดระยะเวลาที่เหลือรวมถึงการบริหารและประสานงาน
ในวันที่ 6 กรกฎาคม ไวท์เข้าร่วมกับจอชและทีมงานที่เหลือที่ศูนย์บัญชาการกองอำนวยการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เพื่อช่วยเหลือด้านการประสานงาน ไวท์ให้ความช่วยเหลือในการบริหารจัดการความช่วยเหลือด้านอื่นๆและช่วยเหลือจอชในด้านการสื่อสารระหว่างทีม
ไวท์ยังมีส่วนสำคัญในการจัดหา wetsuit ที่มีขนาดเล็กพอสำหรับเด็กที่ตัวเล็กที่สุดในวันสุดท้ายของการกู้ภัย
อาชัญญ์ นวกุล ( โตโต้), อดิเทพ ขำศรี (เทพ), และ จรัลเดช ทองนาค ( โจโจ้)
พวกเขาต่างเป็นเพื่อนที่ดีและทำงานร่วมกับ CMRCA มาเป็นระยะเวลานาน โตโต้ โจโจ้ และเทพ ต่างมีประสบการณ์ในการกู้ภัยระดับมืออาชีพเช่นเดียวกับการเป็นนักปีนหน้าผาที่มีประสบการณ์ พวกเขาได้รับการฝึกอบรมเทคนิคการกู้ภัยด้วยระบบเชือกจาก CMRCA พวกเขาเข้าร่วมกับต่อในขั้นแรกของการกู้ภัยและทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการหาทางเข้าถ้ำทางอื่นๆ ที่สามารถนำพวกเขาไปช่วยเด็กๆ ได้
เมื่อทีม CMRCA ได้เข้าร่วมในการใช้ระบบกู้ภัยด้วยเชือกขั้นสูง โตโต้ โจโจ้ และเทพ ต่างเข้าช่วยเหลือด้านการติดตั้งและจัดการระบบเชือกขั้นสูงระหว่างโถงที่ 3 และโถงที่ 2 รวมถึงให้กำลังใจเด็กๆ ในระหว่างการเคลื่อนย้าย
พวกเขามีบทบาทสำคัญในการรับประกันเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบเชือกขั้นสูง เพื่อให้หน่วยกู้ภัยและหน่วยแพทย์จะได้ให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่
รีเบคก้า ทริปป์
ในช่วงของความวุ่นวายในนาทีสุดท้าย รีเบคก้าใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือจอชและเวิร์น รวมถึงหน่วยงานราชการของไทยในการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจภายในถ้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะและข้อจำกัดต่างๆ ในแต่ละโถงอย่างชัดเจน
แผนที่นี้จำเป็นในการช่วยเหลือผู้มีอำนาจให้เข้าใจถึงสถานการณ์ภายในถ้ำ รวมถึงตลอดทางในแต่ละโถง และถูกใช้ในการรายงานอย่างเป็นทางการของทางราชการ
ทีมงาน CMRCA ทุกคน
ระหว่างที่ทางทีมงานกู้ภัยปฏิบัติภารกิจอยู่ที่แม่สายนั้น ทีมงาน CMRCA ที่เหลือก็ยังคงทำงานกันอย่างหนักทั้งการให้ความสนับสนุนทั้งอุปกรณ์ ความช่วยเหลือด้านโลจิสติกส์ หากไม่มีความสนับสนุนจากทุกคนภารกิจนี้คงไม่สามารถสำเร็จได้
Progression Equipment
บริษัทพี่น้องของเรา Progression Equipment (www.progressionequipment.com) ได้จัดเตรียมอุปกรณ์รวมถึงการขนส่งและให้ความช่วยเหลือตลอดการปฏิบัติงาน อุปกรณ์ต่างๆ นี้ ได้แก่ เชือกและฮาร์ดแวร์จาก Sterling Rope, อุปกรณ์จาก Black Diamond, Climb Tech และ Hilti ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับการสนับสนุนจาก Progression Equipment สำหรับอุปกรณ์ที่ทำให้พวกเราและเด็กๆ ทุกคนปลอดภัยตลอดทั้งภารกิจ